ประวัติส่วนตัว
แหล่งเรียนรู้จังหวัดนราธิวาส
นายซาฟีอี ดอเล๊าะแซ
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ผ้าบาติก
- ผ้าบาติก
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นคำที่กลุ่มชนทั่วไปโดยเฉพาะในภาคใต้รู้จักกันดี ซึ่งก็หมายถึงผ้าชนิดหนึ่งที่มีลวดลายและสีสันสวยงามตามจินตนาการของผู้ออกแบบในลักษณะต่างๆ ซึ่งมองเห็นกันจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายของบุรุษ สตรี การผลิตผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมศีรษะของสตรีชาวมุสลิม หรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างก็นำผ้าบาติกมาผนวกเข้ากับความเป็นงานศิลปะ ตกแต่งให้เกิดความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ บ่งบอกถึงความเป็นแก่นลึกในจินตนาการของผู้จัดทำ ซึ่งแม้กระทั่งหน่วยงานทั้งของรัฐ และเอกชนก็ยังได้นำเอาความสวยงามของผ้าบาติกมาออกแบบเป็นเครื่องแต่งกายประจำไปเลยก็มี นี่อาจเป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่ในความงามของผ้าบาติกที่เรามองเห็นในความเป็นเนื้อแท้ของผ้าบาติกก็ว่าได้ ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่หลงมนต์เสน่ห์ของผ้าบาติกอย่างถอนตัวไม่ขึ้น อาจเพราะเป็นกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามและดำรงชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภายใต้ แต่นี่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลทั้งหมดที่ทำให้ผู้เขียนประทับใจในมนต์เสน่ห์ของผ้าบาติกนั่นน่ะซิ ผ้าบาติกต้องซ่อนความมหัศจรรย์อะไรเอาไว้ให้เราช่วยกันค้นหาแน่ๆ
คำว่า บาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิม เป็นคำในภาษาชวาซึ่งใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า "ติก" หมายถึง เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆ ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตริดิก” หรือ “ตาริดิก” ดังนั้น คำว่า “บาติก” จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ ด่างๆ ซึ่งกรรมวิธีในการทำผ้าบาติกนั้น อาจ กล่าวได้คร่าวๆ ว่าเป็นการนำผ้ามาประดิษฐ์โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ดังนั้น ผ้าบาติกจึงเป็นได้ทั้งงานหัตถอุตสาหกรรม และงานทางศิลปะประยุกต์รวมอยู่ในตัวเดียวกัน การลงสี ย้อมสี ในบางครั้งอาจทำให้สีซึมเข้าไปในเนื้อผ้าอีกสีหนึ่งหรืออาจซึมเข้าไปตามรอยแตกของเส้น เทียน จึงทำให้ผ้าบาติกมีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้แม่พิมพ์อันเดียวกันก็ตาม นั่นหมายถึงว่าผ้าบาติกแต่ละผืนนั้นมีความสวยงามแตกต่างกัน นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ของผ้าบาติก ซึ่งอาจจะถือได้ว่าผ้าบาติกแต่ละผืนจะเป็นหนึ่งเดียวในโลก และไม่มีเคยมีศิลปินท่านใดที่จะสามารถพิมพ์ผ้าบาติกได้เหมือนผืนแรก
แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนนั้น ยังไม่สามารถที่จะสรุปได้แน่นอน นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่า ผ้าบาติกเกิดขึ้นในอินเดียมาก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย แต่อีกหลายคนก็เชื่อว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซียซึ่งเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย เนื่องจากศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ในภาษาอินโดนีเซีย
ผ้าบาติกนิยมใช้กันมากในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ดารุสซาลาม หมู่เกาะทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของประเทศไทยเรา โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดทำผ้าบาติกเป็นสินค้าพื้นบ้านและเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ “OTOP” สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้เป็นจำนวนมาก
ในการผลิตผ้าบาติกนั้นก็ไม่ยุ่งยากมากมาย เพียงแต่ต้องเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือทำ เพราะถ้าขาดวัสดุอุปกรณ์ในขั้นตอนใด อาจจะทำงานที่ได้ดำเนินไปแล้วต้องเสียหาย เป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
ลองกอง
- ลองกอง
ลองกอง เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งชนิดที่เปลือกหนาและยางน้อย โดยลางสาดเป็นไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Corrêa ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม[1]
ลางสาดนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย มีหลายชื่อ อาทิ ลังสาด, ดูกู โดยชื่อ "ลางสาด" หรือ "ลังสาด" นั้นมาจากภาษามลายูว่า "langsat", ชื่อ "ดูกู" มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า "duku" และชื่อ "ลองกอง" มาจากภาษายาวีว่า "ดอกอง"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)