วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ผ้าบาติก
- ผ้าบาติก
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นคำที่กลุ่มชนทั่วไปโดยเฉพาะในภาคใต้รู้จักกันดี ซึ่งก็หมายถึงผ้าชนิดหนึ่งที่มีลวดลายและสีสันสวยงามตามจินตนาการของผู้ออกแบบในลักษณะต่างๆ ซึ่งมองเห็นกันจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายของบุรุษ สตรี การผลิตผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมศีรษะของสตรีชาวมุสลิม หรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างก็นำผ้าบาติกมาผนวกเข้ากับความเป็นงานศิลปะ ตกแต่งให้เกิดความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ บ่งบอกถึงความเป็นแก่นลึกในจินตนาการของผู้จัดทำ ซึ่งแม้กระทั่งหน่วยงานทั้งของรัฐ และเอกชนก็ยังได้นำเอาความสวยงามของผ้าบาติกมาออกแบบเป็นเครื่องแต่งกายประจำไปเลยก็มี นี่อาจเป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่ในความงามของผ้าบาติกที่เรามองเห็นในความเป็นเนื้อแท้ของผ้าบาติกก็ว่าได้ ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่หลงมนต์เสน่ห์ของผ้าบาติกอย่างถอนตัวไม่ขึ้น อาจเพราะเป็นกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามและดำรงชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภายใต้ แต่นี่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลทั้งหมดที่ทำให้ผู้เขียนประทับใจในมนต์เสน่ห์ของผ้าบาติกนั่นน่ะซิ ผ้าบาติกต้องซ่อนความมหัศจรรย์อะไรเอาไว้ให้เราช่วยกันค้นหาแน่ๆ
คำว่า บาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิม เป็นคำในภาษาชวาซึ่งใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า "ติก" หมายถึง เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆ ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตริดิก” หรือ “ตาริดิก” ดังนั้น คำว่า “บาติก” จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ๆ ด่างๆ ซึ่งกรรมวิธีในการทำผ้าบาติกนั้น อาจ กล่าวได้คร่าวๆ ว่าเป็นการนำผ้ามาประดิษฐ์โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบายหรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี มีทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี ดังนั้น ผ้าบาติกจึงเป็นได้ทั้งงานหัตถอุตสาหกรรม และงานทางศิลปะประยุกต์รวมอยู่ในตัวเดียวกัน การลงสี ย้อมสี ในบางครั้งอาจทำให้สีซึมเข้าไปในเนื้อผ้าอีกสีหนึ่งหรืออาจซึมเข้าไปตามรอยแตกของเส้น เทียน จึงทำให้ผ้าบาติกมีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้แม่พิมพ์อันเดียวกันก็ตาม นั่นหมายถึงว่าผ้าบาติกแต่ละผืนนั้นมีความสวยงามแตกต่างกัน นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ของผ้าบาติก ซึ่งอาจจะถือได้ว่าผ้าบาติกแต่ละผืนจะเป็นหนึ่งเดียวในโลก และไม่มีเคยมีศิลปินท่านใดที่จะสามารถพิมพ์ผ้าบาติกได้เหมือนผืนแรก
แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนนั้น ยังไม่สามารถที่จะสรุปได้แน่นอน นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่า ผ้าบาติกเกิดขึ้นในอินเดียมาก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย แต่อีกหลายคนก็เชื่อว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซียซึ่งเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย เนื่องจากศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ในภาษาอินโดนีเซีย
ผ้าบาติกนิยมใช้กันมากในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ดารุสซาลาม หมู่เกาะทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของประเทศไทยเรา โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดทำผ้าบาติกเป็นสินค้าพื้นบ้านและเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ “OTOP” สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้เป็นจำนวนมาก
ในการผลิตผ้าบาติกนั้นก็ไม่ยุ่งยากมากมาย เพียงแต่ต้องเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือทำ เพราะถ้าขาดวัสดุอุปกรณ์ในขั้นตอนใด อาจจะทำงานที่ได้ดำเนินไปแล้วต้องเสียหาย เป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
ลองกอง
- ลองกอง
ลองกอง เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งชนิดที่เปลือกหนาและยางน้อย โดยลางสาดเป็นไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Corrêa ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม[1]
ลางสาดนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย มีหลายชื่อ อาทิ ลังสาด, ดูกู โดยชื่อ "ลางสาด" หรือ "ลังสาด" นั้นมาจากภาษามลายูว่า "langsat", ชื่อ "ดูกู" มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า "duku" และชื่อ "ลองกอง" มาจากภาษายาวีว่า "ดอกอง"
เกาะยาว
- กาะยาว
กาะยาว นราธิวาส อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กม. จากสี่แยกตลาดตากใบเลยไปยังแม่น้ำตากใบ มีสะพานไม้ชื่อ ” สะพานคอย 100 ปี ” ยาว 345 เมตร ป็นสะพานไม้ที่ทอดตัวข้ามแม่น้ำตากใบไปยัง ” เกาะยาว ” ซึ่งทางด้านตะวันออกของ ” เกาะยาว ” จะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีขาวสวยงาม สามารถเล่นน้ำได้ ซึ่ง ทางด้านตะวันออกของเกาะจะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีน้ำตาล บรรยากาศสงบ
ทำไมถึงต้องเรียกว่า ” สะพานคอย 100 ปี “ เพราะสมัยก่อนเกาะยาวซึ่งอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอตากใบ ฝั่งด้านหนึ่งติดกับทะเลอ่าวไทย ส่วนอีกฝั่งด้านหนึ่งติดแม่น้ำตากใบ เป็นเกาะที่มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีชายหาดทรายขาวสะอาด มีทิวมะพร้าวเรียงรายเป็นแนวยาวสวยงาม บรรยากาศร่มรื่นเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด หรือเทศกาลต่าง ๆ
นกเงือก
- นกเงือก
นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว
ลักษณะ[แก้]
นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]
และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ[5]
ชนิด[แก้]
พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย
การทำรัง[แก้]
นกเงือก มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก
แสดงความสมบูรณ์ของป่า[แก้]
นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ[3]
นกเงือกในประเทศไทย[แก้]
ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ด้วยกัน โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และนกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง[8]
รายชื่อนกเงือกและที่ชนิดนกเงือกที่พบในประเทศไทย[แก้]
- นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Great hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis)
- นกเงือกหัวแรด (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rhinoceros hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros)
- นกเงือกหัวหงอก (ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus)
- นกชนหิน (ชื่อภาษาอังกฤษ: Helmeted hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil)
- นกแก๊ก หรือ นกแกง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental pied hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris)
- นกเงือกดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Black hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros malayanus)
- นกเงือกคอแดง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rufous-necked hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros nipalensis)
- นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (ชื่อภาษาอังกฤษ: Austen's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus austeni)
- นกเงือกสีน้ำตาล (ชื่อภาษาอังกฤษ: Tickell's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus tickelli)
- นกเงือกปากดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Bushy-crested hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus galeritus)
- นกเงือกปากย่น (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wrinkled hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros corrugatus)
- นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wreathed hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus)
- นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain-pouched hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros subruficollis)
สถานีรถไฟตันหยงมัส
- สถานีรถไฟตันหยงมัส
สถานีรถไฟตันหยงมัส เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีจำนวนราง 3 ชานชลาราง ใช้อาณัติสัญญาณแบบประแจสายลวด และแบบหางปลา ระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 1,215.50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 18-21 ชั่วโมง วิกิพีเดีย
เปิดทำการ: 1 มีนาคม 2463
สาเต
- สะเต๊ะ
สะเต๊ะ (อังกฤษ: satay , ฝรั่งเศส: saté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน
คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น" [1] อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (saté) หรือ "ซาไท" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ [2]
สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน[3] โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี[4] ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)